ภูมิภาค
ปภ.กำแพงเพชรส่งชุดยานยนต์ดับเพลิงฉีดหมอกน้ำ ช่วยอำเภอแม่สอด ลดฝุ่น PM2.5
วันเสาร์ ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564, 13.06 น.
คลิกที่นี่
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2564 นายไพรินทร์ ลิ่มเจริญ ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 8 กำแพงเพชร มอบหมายให้นายฉัตรชัย ปิ่นแก้ว เจ้าหน้าที่ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 8 กำแพงเพชรพร้อมด้วยชุดยานยนต์ดับเพลิงฉีดหมอกน้ำด้วยระบบควบคุมระยะไกล ( LUF 60 ) เข้าไปช่วยเหลือพ่นหมอกควันในพื้นที่อำเภอแม่สอด หลังจากหมอกควัน ค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน
นายฉัตรชัย กล่าวว่า ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เขต 8 กำแพงเพชรได้รับประสานงานจาก สำนักงานป้องกันและบรรเทาสารณภัยจังหวัดตตาก สาขาแม่สอด ขอให้เข้ามาช่วยเหลือในการพ่นหมอกควัน ค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐานในพื้นที่อำเภอแม่สอด ซึ่งจะเริ่มปฏิบัติงานตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมีนาคมและในวันนี้ฉีดพ่นน้ำ โดยใช้ชุดยานยนต์ดับเพลิงฉีดหมอกน้ำด้วยระบบควบคุมระยะไกลพ่นไปแล้วประมาณ 8,000 ลิตร
ขณะเดียวกัน นางสาวศิริพร สอนไว ปลัดอำเภอกลุ่มงานความมั่นคงอำเภอแม่สอด ปล่อยขบวนรถบรรทุกน้ำ ประกอบด้วย หน่วยเฉพาะกิจกรมทหารราบที่ 4 สนง.ปภ.ตาก สาขาแม่สอด เทศบาลนครแม่สอด เทศบาลตำบลท่าสายลวด เทศบาลตำบลแม่กุ เทศบาลตำบลแม่ตาว องค์การบริหารส่วนตำบลแม่ปะ และ องค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่ ทุกแห่ง จำนวน กว่า10 คน ฉีดพ่นน้ำเพิ่มความชุ่มชื่นในอากาศ เพื่อบรรเทาปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็กสูงเกินมาตรฐานจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน
ด้าน สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ติดข้างศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอแม่สอด ต.แม่ปะ อ.แม่สอด จ.ตาก รายงาน จากผลการตรวจวัดคุณภาพอากาศในพื้นที่ต.แม่ปะ อ.แม่สอด, ตาก พบปริมาณฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) มีค่า 78 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (µg/m3) อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ นอกจากนี้ยังพบปริมาณฝุ่นละออง ขนาดไม่เกิน 10 ไมครอน (PM10) มีค่า 123 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (µg/m3) อยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ส่วน เฟสบุ๊ค “ หมอแม่สอด “ โพสต์ลงในบนเฟสบุ๊คโดยระบุข้อความว่า “หมอมาทำงานตอนเช้าเปิดประตูมาแป๊บเดียว คนไข้ถุงลมโป่งพองก็เข็นสวนเข้ามาสิบกว่าคน จนห้องฉุกเฉินมีแต่คนไข้หอบ ถุงลมโป่งพองเป็นโรคเกี่ยวกับปอด ปอดจะไม่ดี เกิดจากโดนฝุ่นควัน ทั้งจากการสูบบุหรี่ อยู่ในที่เผาไร่ และเมื่อเจอฝุ่นควัน pm 2.5 ซ้ำเข้าไป ก็จะถูกกระตุ้นให้หอบเหนื่อยมากขึ้น มากขึ้น
คลิกที่นี่