มาดูปฏิบัติการ ฮ.ปักเป้า ขนน้ำ 16 เที่ยว 4.8 หมื่นลิตรดับไฟป่าเชียงดาว หลังพบมีเปลวไฟสูงต่อเนื่อง ล่าสุดช่วงบ่ายวันนี้สามารถควบคุมพื้นแนวไฟอยู่ในวงจำกัด
วันที่ 25 มี.ค.65 กองบัญชาการควบคุมสถานการณ์ไฟป่าหมอกควันภาคเหนือ กองทัพภาคที่ 3 ส่วนหน้าร่วมกับสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ ส่งเฮลิคอปเตอร์ KA-32 หรือที่เรียกกันว่า ฮ.ปักเป้า ปฏิบัติการดับไฟในพื้นที่ ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จำนวน 16 เที่ยว ใช้น้ำ 48,000 ลิตร ภายหลังเกิดไฟไหม้ตั้งแต่เมื่อเช้าที่ผ่านมา จากการลาดตระเวนของโดรนจิตอาสา ขณะปฏิบัติการยังคงมีเปลวไฟสูงต่อเนื่อง ล่าสุดช่วงบ่ายวันนี้สามารถควบคุมพื้นแนวไฟอยู่ในวงจำกัด
สำหรับเฮลิคอปเตอร์ KA-32 ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นเฮลิคอปเตอร์สมรรถนะ คล่องตัวสูง และ มีประสิทธิภาพด้านการบินลอยตัว เข้าประจำการตั้งแต่ปี 2562 ถูกใช้ในภารกิจป้องกันสาธารณภัยต่าง ๆ เช่น การควบคุมไฟป่าในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ โดยสามารถบรรจุน้ำได้เที่ยวละ 3,000 ลิตร และมีระบบท่อดูดน้ำข้าโปรยน้ำและพ้นน้ำในจุดแคบที่เกิดไฟป่าได้อย่างแม่ยำ
ส่วนสถานการณ์จุดความร้อนในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ (ดาวเทียมระบบ VIIRS) ห้วงวันที่ 25 มี.ค.65 พบเกิดจุดความร้อนสะสมจำนวน 13 จุด น้อยกว่าวันเดียวกันของปี 64 จำนวน 233 จุด ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.64 – 25 มี.ค.65 เกิดจุดความร้อนสะสมในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ จำนวน 19,037 จุด เมื่อเทียบปี 64 ( 56,268 ) ลดลง 37,231 จุด คิดเป็น 66.17 % เมื่อเทียบปี 63 ( 92,762 ) ลดลง 73,725 จุด คิดเป็น 79.48 % ซึ่งจุดความร้อนวันนี้พบในจังหวัดกำแพงเพชร, พิจิตรและจังหวัดพิษณุโลก โดยเฉพาะในพื้นที่เกษตร 6 จุด,พื้นที่เขต สปก. 5 จุด เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับเมื่อวาน พื้นที่เผาไหม้ลดลง ค่าฝุ่นละอองลดลง สภาพอากาศโดยรวมดีถึงดีมาก นอกจากนี้ห้วงวันที่ 1 – 24 มี.ค.65 ทุกจังหวัดค่าจุดความร้อนสะสม ต่ำกว่าปี 64
สำหรับ เฮลิคอปเตอร์ KA-32 ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในภารกิจดับไฟป่า สามารถบรรจุน้ำได้รอบละ 3,000 ลิตร โดยจะมีระบบท่อดูดน้ำ และเมื่อดูดน้ำจนเต็มก็จะสามารถบินไปโปรยน้ำในจุดที่เกิดไฟป่าได้ทันที และมีความแม่นยำมากขึ้นกว่าร้อยละ 80 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 3 ปีย้อนหลัง อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังคงต้องมีการเฝ้าระวังการเกิดไฟป่าในพื้นที่อำเภอหางดง อำเภอแม่ออน และอำเภอสันกำแพง ซึ่งมีแนวโน้มเกิดจุดความร้อน (Hotspot) มากกว่าปีที่ผ่านมา ขณะที่คุณภาพอากาศของจังหวัดเชียงใหม่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ซึ่งข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ที่ผ่านมา พบมีค่าเกินมาตรฐานเพียง 22 วันเท่านั้น เนื่องจากสามารถควบคุมจุดความร้อน (Hotspot) ได้ และสภาพอากาศที่ไม่พัดพาฝุ่นละอองเข้ามาสะสมในพื้นที่
โดยใช้ในการปฏิบัติภารกิจป้องกันสาธารณภัยต่างๆ เช่น การควบคุมไฟป่าในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ KA-32 ออกแบบเพื่อปฏิบัติภารกิจทางการบินที่มีความหลากหลาย เช่น ภารกิจค้นหากู้ภัยในพื้นที่ยากที่จะเข้าถึงด้วยการเดินเท้า การดับไฟป่า ดับเพลิงอาคารสูง เป็นเฮลิคอปเตอร์ที่มีความยืดหยุ่นสูง มีประสิทธิภาพด้านการบินลอยตัว หรือมีอัตรายกตัวสูงกว่า ฮ. แบบอื่นขณะบรรทุกน้ำมาเต็มความจุของถัง รวมถึงยังเป็นเฮลิคอปเตอร์ที่มีความเสถียร เนื่องจากไม่มีโรเตอร์ท้าย สามารถบินฝ่ากระแสลมแรงบริเวณหุบเขาที่เกิดไฟป่าได้ดีกว่า ฮ. แบบอื่น