เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2565 ที่โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทาราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ ถนนแจ้งวัฒนะ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ(กสม.)ได้จัดงาน “สมัชชาสิทธิมนุษยชน:เหลียวหลังแลหน้า 2 ศตวรรษ กสม.” ทั้งนี้ได้มีการเชิญบุคคลต่างๆหลากหลายวิชาชีพ รวมทั้ง กสม.ตั้งแต่ชุดแรกจนถึงปัจจุบันมาร่วมปาถกฐา โดยมีผู้ร่วมประชุมประมาณ 550 คน
ดร.เสรี นนทสูติ กรรมการสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม กรรมการปฏิรูปประเทศด้านวัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และทรัพยากรมนุษย์ กล่าวว่าขณะนี้เรามีรัฐธรรมนูญ 2560 โดยมาตรา 77 กำหนดเรื่องของผลสัมฤทธิ์และให้ตรากฎหมายเท่าที่จำเป็นเพื่อไม่ให้เป็นภาระประชาชน อย่างไรก็ตามกลายเป็นว่ายิ่งทำงานยิ่งจำกัดสิทธิ์ของประชาชนมากขึ้น เช่น กฎหมายจำกัดการรวมกลุ่ม ดังนั้นกสม.เป็นองค์กรเดียวที่มีอำนาจหน้าที่ในการเสนอแนะเรื่องกฎหมายไปยังหน่วยงาน จึงขอเสนอให้กสม.จัดตั้งหน่วยงานที่จะให้ความเห็นด้านกฎหมายเพื่อเสนอไปยังหน่วยงานเพื่อไม่ให้การเสนอผลสัมฤทธิ์จำกัดสิทธิของประชาชน โดยกฎหมายที่ส่วนราชการจะออกมาต้องไม่ใช่เพียงแค่อำนวยความสะดวกให้ตัวเองแต่ต้องเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง
นายพฤ โอ่โดเชา ตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์กล่าวว่า วันดีคืนชาวบ้านในหมู่บ้านถูกอพยพ ป่าไม้ที่เราอยู่มานานถูกขายให้อังกฤษสัมปทาน ในปี 2522 มีการใช้กฎหมายอุทยาน อพยพชาวบ้าน และปี 2535 อพยพชาวบ้านที่ผาช่อ กำแพงเพชร ก็ถูกโยกย้าย เราไม่รู้ว่าสิทธิในรัฐใหม่คืออะไร แต่กฎประเพณีของเราอยู่อย่างนั้น เพราะการตั้งชุมชนผู้นำหมู่บ้านต้องไปทำพันธสัญญากับเจ้าป่าเจ้าเขา ถ้าเขายอมรับหรือยอมให้เราอยู่ แต่รัฐใหม่อพยพชาวบ้านซึ่งเราไม่รู้ทำอย่างไร มีพี่น้องที่ได้รับผลกระทบจากเขื่อนในภาคอีสานมาชุมนุมบอกให้ส่งเสียงต้องมาถึงทำเนียบ ตนตามพ่อแม่มาชุมนุม 99 วันที่ทำเนียบ พอใกล้ร่างรัฐธรรมนูญ 40 ทำให้ผมรู้ว่าไม่ใช่มีแค่ชาวเขาที่ถูกจำกัด แม้แต่ชาวเลก็ถูกรวมไว้ตามเกาะ
นายพฤกล่าวว่า ในปี 2554 มีการอพยพชาวบางกลอยและปี 2564 มีการจับกุมชาวบ้านที่พยายามจะกลับบ้านเกิดที่บางกลอยบนอีก ความคิดในเรื่องการไล่คนออกจากป่ายังมีอยู่ แต่สิทธิของเรากลับไม่มี การออกมาชุมนุมอีกครั้ง เราต้องเจอเรื่องโครงการขนาดใหญ่ทั้งการสร้างเขื่อนและเหมืองแร่ เมื่อไม่กี่วันก่อนชาวบ้านที่อยู่ อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่อนสอน บอกให้มาช่วยบอกหน่อยว่าจะทำอย่างไรเพื่อหยุดโครงการเหมืองแร่ที่อยู่ใต้ชุมชนซึ่งจะมีสัมปทานจากบริษัทเอกชน เรื่องที่เกิดขึ้นสะท้อนว่ายังมีชาวบ้านที่ยังไม่สามารถรับรู้ถึงเรื่องสิทธิของตัวเองอีกมากที่กำลังเผชิญกับการละเมิดสิทธิ์ ดังนั้นการขับเคลื่อนของ กสม.จึงสำคัญต่อการขับเคลื่อนให้เกิดสิทธิของชาวบ้านสู่การออกนโยบายที่เป็นจริง
ทั้งนี้ในที่ประชุมได้นำเสนอผลการประชุมกลุ่มย่อยใน 5 ประเด็น ประกอบด้วย 1 ประเด็นกระบวนการยุติธรรมทางอาญาซึ่งมีมติ 2 ข้อคือ 1. ด้านการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย โดยมีมติให้ขับเคลื่อนการบังคับใช้กฎหมายที่จะมีผลบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยการพัฒนาระบบ บุคลากร งบประมาณ กับหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรม ผลักดันให้มีการจดข้อมูลด้านสภาพร่างกายและจิตใจด้วยแพทย์อิสระ ทั้งทางนิติเวชและนิติจิตเวช เพื่อเป็นหลักฐานทางการแพทย์ แก้ไขให้พรบ.ค่าตอบแทนผู้เสียหายในคดีอาญาฯให้ครอบคลุมคดีทรมานและอุ้มหาย และเข้าร่วมให้สัตยาบันอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองคนหายขององค์การสหประชาชาติ
2. การบริหารจัดการการทะเบียนประวัติอาชญากร เพื่อไม่กระทำสิทธิมนุษยชนของประชาชน ไม่เป็นภาระในการยื่นคำร้องขอลบ รวมทั้งผลักดันให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แก้ไขระเบียบที่ยังไม่ลบประวัติอาชญากร ของประชาชนเมื่ออัยการสั่งไม่ฟ้อง ศาลยกฟ้อง ศาลไม่รับฟ้อง ลงโทษปรับ และรอการลงโทษ รวมทั้งพิจารณาปรับหลักเกณฑ์ที่จะละเมิดสิทธิมนุษยชนในการพิมพ์ลายนิ้วมือในชั้นการกล่าวหา หรือการตกเป็นผู้ต้องหาในชั้นสอบสวนเท่านั้น
2.ข้อสรุปการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิชุมชนและสิทธิทางสิ่งแวดล้อม สรุปว่า หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง โดยความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงภาคประชาชนและชุมชน ควรดำเนินการ เร่งปรับปรุงกฎหมายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งระบบ ทบทวนและปรับปรุงระบบการประเมินผลกระทบ โดยเฉพาะการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA/EHIA) เพื่อให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล และควรพิจารณานำหลักการและแนวทางของการประเมินผลกระทบสิทธิมนุษยชน (HRIA/HRDD) ผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของระบบการประเมินผลกระทบเหล่านั้นด้วย
นอกจากนี้ควรเร่งผลักดันให้การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) มีสภาพบังคับในการใช้ออกแบบและจัดทำนโยบายและแผนงานด้านทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและการพัฒนา รับรองในกฎหมายและในทางปฏิบัติเพื่อให้ประชาชนและชุมชนมีสิทธิในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาในทุกขั้นตอน นอกจากนี้ต้องกระจายอำนาจให้ประชาชน ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการตัดสินใจด้านการจัดการและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับท้องถิ่นอย่างแท้จริง
“ กสม. โดยความร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ควรดำเนินการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิทางสิ่งแวดล้อมในมิติข้ามพรมแดน โดยผลักดันให้มีการนำการประเมินผลกระทบสิทธิมนุษยชน”
3.ประเด็นเรื่องสถานะบุคคลสรุปว่า ควรนำบทเรียนการแก้ไขปัญหาบุคคลผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิที่ประสบความสำเร็จทั้งในส่วนของคนไทยพลัดถิ่น กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้ตกสำรวจหรือถูกจำหน่ายชื่อจากทะเบียน รวมถึงคนไร้รัฐไปปรับใช้เพื่อเร่งรัดกระบวนการกำหนดสถานะแก่ผู้ที่ยังมีปัญหาและขจัดความไร้รัฐให้หมดไป (zero statelessness) โดย 1. การประสานพลังภาคีเครือข่ายเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาสถานะบุคคล 2. สร้างเสริมศักยภาพในการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลในประเทศไทย 3. ควรเพิ่มบุคลากรและงบประมาณให้เพียงพอทั้งระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับชาติ และแก้ไขปัญหาการทุจริตในกระบวนการพิจารณาให้สถานะบุคคลหรือสัญชาติ 4. ควรเร่งสร้างเสริมศักยภาพภาคีเครือข่ายด้านสถานะบุคคลเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานแก้ไขปัญหาสถานะบุคคล5. ควรพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล และการเชื่อมโยงฐานข้อมูลด้านสถานะบุคคลมาปรับใช้ในการทำงาน แก้ไขปัญหา และขับเคลื่อนงานด้านสถานะบุคคล
4.ประเด็นสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 กับกลุ่มเปราะบาง 1. การพัฒนาระบบและกลไกในการบริหารจัดการภาวะวิกฤต อาทิ การพัฒนายุทธศาสตร์ ระบบ และกลไกในการบริหารจัดการภาวะวิกฤตโดยจัดให้มี “กลไก การดำเนินงานระดับพื้นที่ที่เกิดจากการทางานร่วมกันระหว่างหน่วยงานของรัฐ ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน ภาคธุรกิจ ภาคเอกชนและภาควิชาการ การพัฒนาระบบสนับสนุนการดาเนินงานทั้งในด้านของการจัดทำระบบฐานข้อมูลกลุ่มเปราะบาง 2.การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือภาวะวิกฤต เช่น พัฒนาองค์ความรู้แบละเผยแพร่เชิงรุก การฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานราก การพัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางในด้านต่างๆ
5 มติในประเด็นความหลากหลายทางเพศระบุว่า ร่วมกันผลักดันการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย นโยบายและการสื่อสารสาธารณะเพื่อขจัดอคติ สร้างการยอมรับในความหลากหลายทางเพศเพื่อให้ทุกคนได้เข้าถึงสิทธิ ได้รับกากรปฏิบัติที่เป็นธรรมเท่าเทียมและเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ โดย 1.เปิดพื้นที่ให้ทุกคนสร้างความร่วมมือในการขับเคลื่อนงานด้านสิทธิความหลากหลายทางเพศ 2. การสร้างกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชนผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ 3. ผลักดันการแก้ไข ปรับปรุงกฎหมาย นโยบาย 4. การสื่อสารสาธารณะเพื่อขนัดอคติและสร้างการยอมรับในความหลากหลาย