โฆษก ศบค. แถลงมติศบค.ชุดใหญ่ ขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไปอีก 2 เดือน จนถึง 31 ม.ค.65 พร้อมยกเลิกเคอร์ฟิว-พื้นที่สีแดงเข้ม และปรับโซนสีพื้นที่ใหม่
วันนี้ (26 พ.ย.64) นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงข่าวกรณี ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ครั้งที่ 19/2564 ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการ ศบค.เป็นประธาน
โดยมีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในคราวที่ 15 เนื่องจากมีช่วงระยะเวลาคาบเกี่ยวกับเทศกาลปีใหม่คือระหว่างเดือนธ.ค.2564 กับเดือนม.ค.2565 จึงเห็นควรพิจารณาขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินครั้งที่ 15 เป็นระยะเวลา 2 เดือนตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.64 ถึง วันที่ 31 ม.ค.65 เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติหน้าทีและการดำเนินชีวิตของประชาชน
ที่ประชุมศบค.เห็นชอบการปรับระดับพื้นที่สถานการณ์ทั่วราชอาณาจักร ดังนี้
พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (แดงเข้ม) เดิม 6 จังหวัด ปรับเป็นไม่มี
พื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง) เดิม 39 จังหวัด ปรับลดเป็น 23 จังหวัด
ประกอบด้วย จังหวัดขอนแก่น จันทบุรี ชุมพร เชียงรายเชียงใหม่ ตรัง ตราด ตาก นครราชสีมานครศรีธรรมราช นราธิวาส ประจวบคีรีขันธ์ปราจีนบุรี ปัตตานี พระนครศรีอยุธยา พัทลุง ยะลาระยอง สงขลา สตูล สระบุรี สระแก้วและสุราษฎร์ธานี
พื้นที่ควบคุม (สีส้ม) คงเดิม 23 จังหวัด ประกอบด้วย ฉะเชิงเทรา ชัยนาทชัยภูมิ ชลบุรี นครนายก นครปฐม พิษณุโลก เพชรบุรี เพชรบูรณ์ แม่ฮ่องสอน ระนอง ราชบุรีลพบุรี ลำปาง ลำพูน สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง อุดรธานี และอุบลราชธานี
พื้นที่เฝ้าระวังสูง (สีเหลือง) 5 จังหวัด ปรับเพิ่มเป็น 24 จังหวัด ประกอบด้วย กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร นครพนม นครสวรรค์ น่าน บึงกาฬบุรีรัมย์ พะเยา พิจิตร แพร่ มหาสารคาม มุกดาหารยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สุโขทัยสุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อุตรดิตถ์ อุทัยธานี และอำนาจเจริญ
พื้นที่นำร่องท่องเที่ยว (สีฟ้า) เดิม 4 จังหวัด ปรับเพิ่มเป็น 7 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพฯ กระบี่ กาญจนบุรี นนทบุรี ปทุมธานี พังงาและภูเก็ตโดยพื้นที่นำร่องท่องเที่ยวให้ใช้มาตรการเช่นเดียวกับพื้นที่เฝ้าระวัง
ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.2564 เป็นต้นไป
สำหรับจังหวัดที่กำหนดเป็นพื้นที่นำร่องท่องเที่ยวในแต่ละระยะ (สีฟ้า)
ระยะที่ 1 วันที่ 1-30 พ.ย.2564
เขียนกำหนดพื้นที่นำร่องด้านเศรษฐกิจเป็นเมืองหลักหรือจังหวัดที่มีสัดส่วนรายได้จากนักท่องเที่ยวต่างชาติน้อยกว่า 100 ละ 15 ของรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งหมด จำนวน 15 จังหวัด
ประกอบด้วย กรุงเทพฯสมุทรปราการ(สนามบินสุวรรณภูมิ) กระบี่ (ทั้งจังหวัด) พังงา (ทั้งจังหวัด) ประจวบคีรีขันธ์ (ตำบลหัวหินและหนองแก )เพชรบุรี (เทศบาลเมืองชะอำ) ชลบุรี (พัทยา บางละมุง นาจอมเทียน บางเสร่ เกาะสีชังและอ.ศรีราชา) ระนอง(เกาะพยาม) เชียงใหม่ (อำเภอเมืองแม่ริม แม่แตง ดอยเต่า) เลย (เชียงคาน) บุรีรัมย์ (อำเภอเมือง) หนองคาย (อำเภอเมืองศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ สังคม )อุดร (อำเภอเมืองทนายูง หนองหาน ประจักษ์ศิลปาคม กุมภวาปีและบ้านดุง) ระยอง (เกาะเสม็ด) และตราด (เกาะช้าง)
ระยะที่ 2 วันที่ 1-31 ธ.ค.2564
เนื่องจากเป็นเมืองหลักหรือจังหวัดที่มีสัดส่วนรายได้จากนักท่องเที่ยวไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งหมด รวมถึงมีสินค้าการท่องเที่ยวด้านศิลปะวัฒนธรรม และเป็นจังหวัดที่มีพรมแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน รวม 27 จังหวัด
ประกอบด้วย กาญจนบุรี (ทั้งจังหวัด) นนทบุรี (ทั้งจังหวัด) ปทุมธานี (ทั้งจังหวัด)เชียงราย (อำเภอเมือง แม่จัน แม่สาย เทิง พาน เวียงป่าเป้า แม่สรวย แม่ฟ้าหลวงเชียงแสน เวียงแก่น และเชียงของ) เชียงใหม่(จอมทอง) อยุธยา ขอนแก่น (อำเภอเมือง เขาสวนกวาง อุบลรัตน์ ภูเวียง เวียงเก่าพลเปือยน้อย) นครราชสีมา (อำเภอเมือง ปากช่องวังน้ำเขียว สีคิ้ว พิมาย เฉลิมพระเกียรติและโชคชัย) สุรินทร์ (อำเภอเมือง ท่าตูม) จันทบุรี(อำเภอเมือง และท่าใหม่) ตราด (เกาะกูด) สงขลา (อำเภอเมือง สะเดาและหาดใหญ่)
ระยะที่ 3 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2565
จำนวน 12 จังหวัด ประกอบด้วย สระแก้ว (อำเภอเมืองและอรัญประเทศ) มุกดาหาร (อำเภอเมือง)บึงกาฬ นครพนม อุบลราชธานี (อำเภอเมืองและสิรินธร) ตราด (อำเภอคลองใหญ่ ) สุรินทร์ จันทบุรี ตาก น่าน กาญจนบุรี ราชบุรี และสตูล
ภาพจาก Thaigov , ศูนย์ข้อมูล COVID-19